หน้ากากอนามัยใส่ได้มากกว่า 2 ชั่วโมง ปลอดภัยโดยไม่ต้องถอด

เรื่องจริงจากแพทย์ เกี่ยวกันเรื่องของหน้ากากอนามัย โดยสามารถใส่ได้เกิน 2 ชม. ต่อเนื่องกันไปได้โดยไม่ต้องถอดออก พร้อมย้ำการถอดหน้ากากเข้า ๆ ออก ๆ อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากมือที่สัมผัสหน้ากากอนามัยนั้น และใบหน้าทำให้เป็นอันตรายได้

ก่อนหน้านี้มีข้อมูลที่ถูกส่งต่อกันมากมาย และมีปรากฏในสื่อต่าง ๆ กรณีเรื่องของการสวมใส่หน้ากากอนามัยแล้วจะทำให้เลือดเป็นกรด ซึ่งเรื่องดังกล่าวมีนายแพทย์ออกมาปฏิเสธแล้วว่าไม่เป็นความจริง

โดยเรื่องนี้ทางกระทรวงสาธารณสุข ออกมาเปิดเผยว่า การสวมใส่หน้ากากอนามัยนั้นไม่ทำให้เลือดเป็นกรด แต่อย่างใด แต่อาจมีคาร์บอนไดออกไซด์คั่งค้างอยู่ได้ เนื่องจากเวลาที่เราใส่หน้ากากอนามันนาน ๆ ทำให้ลมหายใจส่วนหนึ่งถูกกักไว้ อาจมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จึงเป็นที่มาของเรื่อง หากอยู่คนเดียวก็ไม่ต้องสวมใส่ก็ได้ แต่หากต้องอยู่ในที่ชุมชนก็อาจต้องสวมใส่ เรื่องเลือดเป็นกรดนั้นไม่จริง แต่อาจเพลียได้บ้าง หรืออาจทำให้เกิดอาการปวดหัวตามมา จนหลายคนมีความกังวล และได้แชร์ข้อมูลผิด ๆ นี้ไปเป็นจำนวนมาก หลังจากมีสำนักข่าวบางแห่งได้นำเสนอรื่องนี้ไปก่อนหน้านี้แล้ว

"การใส่หน้ากากอนามัยเป็นเวลานาน ๆ ไม่น่าจะทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรดได้ ทำนองว่าใส่หน้ากากนาน ๆ ระวังเกิดอาการภาวะเลือดเป็นกรด เนื่องจากร่างกายได้รับคาร์บอนไดออกไซด์ทำให้ได้รับออกซิเจนน้อยเกินไป ใส่เป็นประจำ โดยไม่พัก อาจทำให้เสียชีวิตได้  

ข้อเท็จจริง คือ มีทั้งส่วนจริงและไม่จริงปนกัน คือ การใส่หน้ากากอนามัยเป็นเวลานาน ๆ อาจก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพได้ แต่ไม่น่าจะเป็นเรื่องใหญ่อย่าง "ภาวะเลือดเป็นกรด"  เนื่องจากภาวะเลือดเป็นกรด คือ ภาวะการผิดปกติของเลือดในร่างกาย ที่มีค่าพีเอช (pH) ต่ำกว่าปรกติ ที่จริงควรจะอยู่ระหว่าง 7.35-7.45 แต่ถ้าภาวะกรดนี้เกิดจากระบบหายใจ ก็จะเกิดขึ้นได้เมื่อปอดไม่สามารถขจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกได้มากกว่า จึงเกิดการสะสมของก๊าซคาร์บอน ฯ ภายในร่างกายเป็นจำนวนสูง จนทำให้เลือดภาวะความเป็นกรดในเลือดมากกว่าปกติ

ภาวะเลือดเป็นกรดจากระบบทางเดินหายใจ เกิดได้หลายสาเหตุ เช่น โรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรัง, การบาดเจ็บบริเวณหน้าอก, ภาวะหรือโรคอ้วนเป็นเหตุให้หายใจลำบาก, การใช้ยาที่มีฤทธิ์กดเส้นประสาทอย่างไม่เหมาะสม, การดื่มแอลกอฮอล์เกินปริมาณที่พอดี, ปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาท, โครงสร้างของหน้าอกผิดรูปร่าง เช่น ภาวะหลังค่อม, ทำให้กล้ามเนื้อหน้าอกที่เกี่ยวข้องกับการหายใจอ่อนแอ หรือไม่แข็งแรง จะเห็นได้ว่า การใส่หน้ากากอนามัยเพื่อการป้องการโรคแล้ว โดยสรุปไม่ได้ก่อให้เกิดผลเสียจากการเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แต่อย่างใดแก่ร่างกาย แต่อาจเกิดอาการ "ขาดออกซิเจน" มากกว่า